• การประชุมกำหนดกรอบร่างหลักสูตร Precision Medicine ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาเทคนิคการแพทย์สมาคมเทคนิคการแพทย์และสภาคณบดีสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยโดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธาน

  • การประชุมกำหนดกรอบร่างหลักสูตร Precision Medicine ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาเทคนิคการแพทย์สมาคมเทคนิคการแพทย์และสภาคณบดีสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย โดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธาน

  • นางสาววรางคณา อ่อนทรวง ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ บรรยายแผนถ่ายทอดกลยุทธ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2562 - 2565

  • การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานวิจัยจีโนมิกส์ประเทศไทยครั้งที่ 3

  • อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ เป็นประธานในการเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนกลยุทธ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2562-2565

  • การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนกลยุทธ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2562-2565

Copyright 2023 - Division of Planning and Technical Coordinate. All rights reserved

เอกสารประชุมกรม

คลังความรู้

ข้อมูลเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์

question01

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

question06

ข้อคำถาม : การแจ้งเพิ่มเรื่องที่นำเสนอในการประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ: มีขั้นตอนดังนี้
      1. กรอกรายละเอียดเรื่องที่นำเสนอลงในแบบฟอร์ม (ท่านสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มเรื่องที่นำเสนอในการประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ที่เว็บไซต์กองแผนงานและวิชาการ)

      2. ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ พร้อมแบบฟอร์ม และเอกสารประกอบ


  question06

ข้อคำถาม : ขั้นตอนในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีในปัจจุบันของหน่วยงานมีขั้นตอนอะไรบ้าง?

ตอบ: มีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้
       1. ทบทวนการดำเนินงานและการกำหนดเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานในองค์กร
       2. จัดทำประมาณการรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็น
                     - ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรตามระเบียบ
                     - ค่าใช้จ่ายประจำของสำนักงาน
       3. จัดทำรายละเอียดวงเงินคำของบประมาณขององค์กร
                     - งบบุคลากร
                     - งบดำเนินงาน
                     - งบลงทุน
                     - งบอุดหนุน
                     - งบรายจ่ายอื่น
       4. จัดส่งแบบฟอร์มและเอกสารประกอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับกองแผนงานและวิชาการ


question06

ข้อคำถาม : ารปรับแก้ไขแผนงานโครงการในระบบ DOC ต่อทำอย่างไร

ตอบ : แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. ในกรณีกองแผนงานและวิชาการแจ้งเปิดระบบแก้ไขแผนงานโครงการอยู่ ผู้จัดทำ/ผู้ลงข้อมูลแผนโครงการสามารถเข้าไปปรับปรุง เพิ่มเติมรายชื่อได้ทันที

2. ในกรณีปิดระบบแก้ไขแผนงานโครงการ ขอให้ทางหน่วยงานประสานแจ้งกองแผนงานและวิชาการผ่านทางหนังสือบันทึกข้อความ หรือทาง e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อเป็นหลักฐานการขอแก้ไขข้อมูลโครงการ ซึ่งเมื่อกองแผนงานและวิชาการได้รับแจ้งแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอแจ้งปรับแก้ไขโครงการ หากพิจารณาแล้วว่าคำขอมีคามเหมาะสม จะแก้ไขข้อมูลโครงการให้ภายใน 10 วันทำการ และแจ้งตอบกลับให้หน่วยานได้รับทราบต่อไป


question06

ข้อคำถาม : ทำไมในการรายงานผลการดำเนินงานแผนงานโครงการผ่านระบบ DOC ผู้รับผิดชอบไม่เห็นโครงการ

ตอบ : นื่องจากผู้จัดทำ/ผู้ลงข้อมูลแผนโครงการไม่ได้ใส่ชื่อผู้รับผิดชอบ หรือไม่ได้มีการแก้ไขชื่อผู้รับชอบโครงการนั้นๆให้ถูกต้อง ซึ่งถ้าอยู่ในระหว่างที่กองแผนงานและวิชาการแจ้งเปิดระบบอยู่ ผู้จัดทำ/ผู้ลงข้อมูลแผนโครงการสามารถเข้าไปปรับปรุง เพิ่มเติมรายชื่อได้ทันที แต่หากในกรณีระบบปิด ขอให้ทางหน่วยงานประสานแจ้งกองแผนงานและวิชาการผ่านทางหนังสือบันทึกข้อความ หรือทาง e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อดำเนินการแก้ไขรายชื่อ  


question06

ข้อคำถาม : เหตุใดต้องมีการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ผ่านระบบ DOC ทั้งที่หน่วยงานมีการรายงานผ่านระบบ GFMIS อยู่แล้ว

ตอบ : ทั้ง 2 ระบบเป็นระบบที่แยกอิสระกัน และมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน โดย

1. ระบบ GFMIS เป็นระบบที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบโดยกรมบัญชีกลาง สำหรับการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมของกรมตามผลผลิตที่ระบุในเอกสารขาวคาดแดง

2. ระบบ DOC เป็นระบบติดตามในระดับแผนงานโครงการเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการราชการประจำปีของกรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำต้นทุนต่อหน่วยของกรมวิทยาศาสตร์ของกรม ดังนั้น ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงมีความจำเป้นต้องมีการรายงานผลทั้ง 2 ระบบตามระยะเวลาที่กำหนด


question06

ข้อคำถาม : ในการประเมินตัวชี้วัดร้อยละระดับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ กองแผนงานและวิชาการมีแนวทางในการพิจารณาประเมินอย่างไร

ตอบ : ตรวจสอบความถูกต้องของแผนงานโครงการในระบบ DOC โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้

1. พิจารณาแผนงานโครงการเฉพาะในส่วนเงินงบประมาณแผ่นดิน

2. จำนวนงบประมาณในระบบ DOC กับงบประมาณที่หน่วยงานได้รับจัดสรรต้องมีความกันไม่เกินร้อยละ 20

3. รายละเอียดแผนงานโครงการต้องมีความครบถ้วนตามหัวข้อที่ระบุในระบบ (ชื่อโครงการ สนับสนุนผลผลิต/กิจกรรมหลักของกรม หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย ประโยชน์ที่คาดจะได้รับ งบประมาณ กิจกรรม ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ

4. ในกรณีที่แผนงานโครงการมีตัวชี้วัดมากกว่า 1 ตัว จะมีการพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัดเพียง 1 ตัวที่ตอบวัตถุประสงค์แผนงานมากที่สุด เพื่อมาใช้ในการประเมิน


 

 

 

f t g m